http://www.zhenguhealthland.com
  สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com 
 หน้าแรก  บทความ ข่าวสาร  เว็บบอร์ด  รวมรูปภาพ  คลิปวีดีโอ  ติดต่อเรา
ค้นหา  ประเภทการค้นหา   
สถิติ
เปิดเว็บไซต์ 04/04/2008
ปรับปรุง 13/01/2023
สถิติผู้เข้าชม393,318
Page Views461,760
สินค้าทั้งหมด 1
Menu
หน้าแรก
บทความ
ข่าวสาร
เว็บบอร์ด
รวมรูปภาพ
คลิปวีดีโอ
ติดต่อเรา
บทความพิเศษจากหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ วันพฤหัสฯ ที่ 24 มิ.ย. 2564,วันจันทร์ ที่ 28 มิ.ย 2564
ถ้วยดูดสุญญากาศ
การนวดฝ่าเท้า
สิ่งมหัศจรรย์เกิดขึ้นจากแพทย์ทางเลือกสามประสาน ประสบการณ์ผู้ป่วย
บำบัดอาการโรคมะเร็ง
บำบัดอาการโรคหัวใจ
บำบัดอาการโรค SLE
บำบัดอาการโรคความดันโลหิตสูง
บำบัดอาการโรคข้อต่อต่างๆ
ผลงานของอาจารย์สุทัศน์
เสนอนำแพทย์ทางเลือกสามประสาน เสริมช่วยปฎิรูปสาธารณสุข
 

การนวดฝ่าเท้า

 

ทฤษฎีเกี่ยวกับการนวดฝ่าเท้า             

       

ฝ่าเท้าเปรียบเสมือนกระจกส่งสะท้อนสุขภาพของเรา   จากประสบการณ์ค้นพบของมนุษย์สมัยโบราณพบว่า    ที่ฝ่าเท้าของมนุษย์มีเขตสะท้อนกระจายทั่ว แต่ละเขตมีเกี่ยวสัมพันธ์กับอวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งในร่างกายกล่าวคือ  ถ้าหากอวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งในร่างกายทำงานบกพร่อง  เกิดมีอาการผิดปกติ เช่น อาการเจ็บปวดจะส่งผลสะท้อนไปถึงเขตสะท้อนที่ฝ่าเท้า  เกิดมีอาการผิดปกติตามมา  เช่น รูปทรงผิดรูปแบบหรือนวดสัมผัสถูกจะเกิดมีอาการเจ็บปวด   เช่นเดียวกันในเวลาที่เขตสะท้อนที่ฝ่าเท้าเกิดมีอาการผิดรูปแบบ หรืออาการเจ็บปวด    ก็จะส่งผลสะท้อนไปถึงอวัยวะภายในร่างกายที่เกี่ยวสัมพันธ์    ทำให้เกิดมีอาการเจ็บปวด   หรือปฏิบัติหน้าที่งานบกพร่องตามมา

ปี พ.ศ. 2543 อ. สุทัศน์ กุลสันติพงศ์  ได้เดินทางไปเมืองจูไห่ (ติดกับมาเก๊า) ศึกษาวิธีนวดฝ่าเท้าแบบจีนกับแพทย์จีนอาจารย์จงเชิงเวย    วิธีนวดฝ่าเท้าแบบจีนของ อ. จงเชิงเวย เป็นวิชาชีพเป็นศาสตร์แพทย์จีนหนึ่งที่ถ่ายทอดสืบทอดของตระกูลอาจารย์จงเชิงเวยมาหลายชั่วอายุคน   เป็นวิธีเสริมสร้างสุขภาพและบำบัดโรคที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล   มีสรรพคุณดีเด่นหลายอย่าง

             1.   เน้นการใช้ไม้นวดเป็นหลัก   ช่วยผ่อนแรงได้มาก   และทำให้การนวดสามารถปฏิบัติได้อย่างสม่ำเสมอ

                  2.  เน้นการนวด   ให้หันทิศทางไปทางเดียวกัน นวดหันเข้าสู่ตัวร่างกาย   ผลักดันเลือดลมไปทางปอดหัวใจ   เพื่อผลักดันให้หัวใจสามารถทำงานปั้มเลือดมีพลังมีประสิทธิภาพ

                  3.   การนวดทำแบบมีระบบ    เป็นขั้นเป็นตอน   โดยเฉพาะเน้นให้นวดเขตสะท้อนทั่วทุกเขตของฝ่าเท้า   เป็นการนวดแก้ไขอาการโรคทั่วหน้า   แล้วย้อนกลับมาเน้นนวดกดเขตสะท้อนที่มีอาการผิดปกติ   มีอาการเจ็บปวด   สอดคล้องกับตำราพื้นฐานแพทย์แผนจีน   เน้นให้บำบัดอาการทั่วหน้าควบคู่กับเน้นขจัดแก้ไขอาการโรคเฉพาะไปพร้อมกัน

                 4.  วิธีนวดนี้วันหนึ่งสามารถนวดได้ 2-3 ครั้งแล้วแต่สุขภาพและความจำเป็น

 

จากคู่มือการอบรมการนวดเท้าเพื่อสุขภาพ แพทย์หญิง เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ

 

บทบาทหน้าที่ของเขตสะท้อนทางสรีระวิทยา   และประโยชน์ได้รับจากการนวดฝ่าเท้า    

                   เวลาเรานวดกดถูกเขตสะท้อนที่มีอาการผิดปกติเจ็บปวดหรือผิดรูปทรง  ในเวลาเดียวกันเซลล์ประสาทซึ่งกระจายหล่อเลี้ยงอยู่บริเวณรอบข้างดังกล่าว   ก็ได้ถูกนวดถูกกระตุ้นและเกิดการตอบรับสนองทันทีเซลล์ประสาทรับความรู้สึก 1 เซลล์จะก่อเกิดเป็นศักย์ไฟฟ้า (ACTION   POTENTIAL) และกลายเป็นกระแสประสาทแพร่ไปตามเยื่อเซลล์รอบข้าง  ผลักดันให้เลือดไหลเวียนมาหล่อเลี้ยงมากขึ้น  และผลักดันให้เม็ดเลือดขาวทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้นในการเคลื่อนตัวกำจัดสิ่งแปลกปลอมของเสียสารพิษและเชื้อโรค  ผนังหลอดเลือดเดิมมีของเสียสารพิษเกาะติดจนทำให้เลือดลมไหลเวียนติดขัดหรือกระทั่งอุดตัน  ก็จะถูกขจัดแก้ไขทำให้ผนังหลอดเลือดขยายกว้างขึ้น  ทำให้เลือดสามารถไหลเวียนผ่านได้อย่างราบรื่น  อาการเจ็บปวดหรือรูปทรงที่ผิดปกติของเขตสะท้อนจะถูกขจัดแก้ไขและปรับเข้าสู่รูปทรงปกติ   ทันทีทันใดเซลล์ประสาทอีก 1 เซลล์จะส่งกระแสสัญญาณโดยผ่านกระแสประสาทไปถึงระบบประสาทกลาง    ระบบประสาทกลางจะตอบรับทันที่โดยส่งสัญญาณคำสั่งผ่านกระแสประสาทตรงไปที่เซลล์ประสาทซึ่งกระจายหล่อเลี้ยงอยู่รอบข้างของอวัยวะที่เกี่ยวพันกับเขตสะท้อน    ปรับเลือดลมที่หมุนเวียนหล่อเลี้ยงอวัยวะดังกล่าว   ไหลเวียนมีประสิทธิภาพมากขึ้นและปรับการทำงานของอวัยวะทำงานเข้าสู่ปกติและมีประสิทธิภาพ


ขั้นตอนการนวดฝ่าเท้า   (เลขที่ในวงเล็บคือเขตสะท้อน)

                   -    นวดลำดับแรก    การนวดให้เริ่มต้นที่ขาซ้าย   ใช้ไม้นวดกดนวดที่เขตศูนย์รวมประสาท(20)และนวดลากถูผ่านเขตสะท้อนต่อมหมวกไต (21)  ไต (22)   ท่อไต (23)   ตลอดถึงเขตสะท้อนกระเพาะปัสสาวะ (24)  (นวด 10 ครั้ง)

                    -   นวดลำดับ 2    นวดเขตสะท้อนกระเพาะอาหาร  (15)  ลำไส้เล็กส่วนต้น (16)  ตับอ่อน (17) (นวด 10 ครั้ง)

                -   นวดลำดับ 3    นวดเขตสะท้อนหัวใจ (33)  ม้าม (34) (นวด 10 ครั้ง)

                -   นวดลำดับ 4   นวดบริเวณอุ้งเท้าที่ตั้งของเขตสะท้อนลำไส้เล็กส่วนกลางและปลาย (25)  ไส้ติ่ง (26)  ลิ้นปิดเปิดระหว่างลำไส้เล็กตอนปลายกับลำไส้ใหญ่ตอนต้น (27)   ลำไส้ใหญ่ขาขึ้น  (28)  ลำไส้ใหญ่ส่วนขวาง  (29)   โดยแบ่งนวดเป็น  3  จังหวะ  จังหวะแรก   ให้ใช้ไม้นวดกดนวดที่กึ่งกลางของลำไส้ใหญ่ส่วนขวาง  (29)  แล้วนวดลากถูลงชิดเขตของส้นเท้า   จังหวะที่ 2  นวดกดจุดที่ข้างด้านในอุ้งเท้า  ซึ่งเป็นบริเวณปากของลำไส้ใหญ่ส่วนขวาง (29)  แล้วนวดลากถูลงชิดเขตของส้นเท้า   จังหวะที่  3  นวดกดจุดที่ขาข้างด้านนอกของอุ้งเท้า   ซึ่งเป็นบริเวณปลายของลำไส้ใหญ่ส่วนขวาง (29)  เชื่อมกับลำไส้ใหญ่ขาขึ้น (28)  แล้วนวดลากถูลงผ่านลำไส้ใหญ่ขาขึ้น  (28)  ตลอดไปถึงเขตของส้นเท้า  (นวด 10 ครั้ง)

                   -   นวดลำดับ  5   นวดบริเวณส้นเท้าซึ่งเป็นบริเวณที่ตั้งของเขตสะท้อนอัณฑะ/รังไข่  (36) (นวด 10 ครั้ง)

                   -   นวดลำดับ  6  กลับขึ้นไปบริเวณปลายเท้าให้เริ่มนวดเขตสะท้อนของต่อมธัยรอยด์  (12)  ใช้ไม้นวดกดลากถูตามบริเวณส่วนโค้งของเขตสะท้อนนี้ (นวด 10 ครั้ง)

                   -   นวดลำดับ  7  นวดบริเวณใต้ทุกนิ้วเท้าทั้ง 5 นิ้วในพื้นที่บริเวณของปลายเท้า  (นวด 10 ครั้ง)

                   -   นวดลำดับ  8  นวดบริเวณพื้นที่ของทุกนิ้วเท้าโดยให้เริ่มใช้ไม้นวดกดจุดเขตสะท้อนของโพรงอากาศกระดูกหน้าผาก  (2)  ของหัวแม่เท้าสักพัก (ระยะเวลาสั้นๆ)แล้วนวดลากถูลงมาก   จากนั้นให้ใช้ไม้นวดรูดบริเวณ 2 ข้างนิ้ว   ทั้งด้านในและด้านนอกของหัวแม่เท้า   จากนั้นใช้วิธีเดียวกันนวดบริเวณนิ้วเท้าอีก 4 นิ้ว  (นวด 10 ครั้ง)

               -   นวดลำดับ  9  นวดกรูดที่ข้างเท้าด้านในเขตต่อมพาราธัยรอยด์ (13)  ไปจนถึงเขตสะท้อนกระดูกก้นกบด้านข้าง (นวด 10 ครั้ง)

                   -   นวดลำดับ 10  นวดกรูดข้างเท้าด้านนอกตั้งแต่ปลายนิ้วก้อยไปจนถึงส้นเท้า  (ตั้งแต่เขตสะท้อนของไหล่  ศอก  เข่า  ไปจนถึงเขตสะท้อนกระดูกก้นกบด้านนอก) (นวด 10 ครั้ง)

                   -   นวดลำดับ  11  นวดทุกพื้นที่ของบริเวณหลังเท้าโดยจับไม้นวดวางนอน  แล้วนวดถูตั้งแต่ทุกปลายนิ้วเท้า   นวดลง (หันสู่ร่างกาย)  ทุกพื้นที่ของหลังเท้า (นวด 10 ครั้ง)

                   -   นวดลำดับ  12  การนวดกระตุ้นกระบังลม     ใช้ไม้นวดคาดบนหลังเท้าในลักษณะเป็นแนวขวาง   กดนวดบริเวณกึ่งกลางหลังเท้า  (ซึ่งเป็นเขตสะท้อนของกระบังลม)   จากเท้าด้านในจรดไปถึงเท้าด้านนอก (นวด 10 ครั้ง)

 การนวดหน้าแข้งและน่อง   2  ข้างเท้า

                   1.   ใช้หัวแม่มือทั้งสองข้างกดบริเวณข้อพับที่กึ่งกลางหลังเท้า  รูดขึ้นไปตามร่องกระดูกหน้าแข้งจนถึงข้อเข่า  (นวด 5 ครั้ง)

                   2.   ใช้หัวแม่มือกดรูดจากกึ่งกลางตาตุ่มด้านใน  ไปตามขอบกระดูกหน้าแข้งด้านในจึงถึงข้อเข่า   (นวด 5 ครั้ง)

                       3.       ใช้หัวแม่มือกดที่ร่องระหว่างตาตุ่มด้านในกับเอ็นร้อยหวาย   รูดขึ้นขนานไปกับเส้นที่  จนถึงข้อพับข้างเข่า  (นวด 5 ครั้ง )

                    4.       ใช้นิ้วกลางและนิ้วนาง   กดรูดบริเวณร่องระหว่างตาตุ่มด้านนอกและเอ็นร้อยหวายรูดไปตามร่องกระดูกหน้าแข้งด้านนอก   จนถึงข้อพับข้างเข่า  (นวด 5 ครั้ง )

                    5.       ใช้ปลายนิ้วกลางและนิ้วนางทั้ง 2 มือ  กดรูดบริเวณเอ็นร้อยหวาย    รูดขึ้นไปกลางน่องตลอดจนถึงข้อพับ (นวด 5 ครั้ง )

   

สอบถามข้อมูลดูแลสุขภาพได้

  ศูนย์เสริมสุขภาพเซิ่งกู่

email:.zhenguhealth@gmail.com

 

 
 หน้าแรก  บทความ  เว็บบอร์ด  รวมรูปภาพ
view