Full Version การนวดฝ่าเท้า

ศูนย์เสริมสุขภาพเซิ่งกู่ > Article

การนวดฝ่าเท้า Date : 2017-04-05 09:47:50

 

ทฤษฎีเกี่ยวกับการนวดฝ่าเท้า             

       

ฝ่าเท้าเปรียบเสมือนกระจกส่งสะท้อนสุขภาพของเรา   จากประสบการณ์ค้นพบของมนุษย์สมัยโบราณพบว่า    ที่ฝ่าเท้าของมนุษย์มีเขตสะท้อนกระจายทั่ว แต่ละเขตมีเกี่ยวสัมพันธ์กับอวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งในร่างกายกล่าวคือ  ถ้าหากอวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งในร่างกายทำงานบกพร่อง  เกิดมีอาการผิดปกติ เช่น อาการเจ็บปวดจะส่งผลสะท้อนไปถึงเขตสะท้อนที่ฝ่าเท้า  เกิดมีอาการผิดปกติตามมา  เช่น รูปทรงผิดรูปแบบหรือนวดสัมผัสถูกจะเกิดมีอาการเจ็บปวด   เช่นเดียวกันในเวลาที่เขตสะท้อนที่ฝ่าเท้าเกิดมีอาการผิดรูปแบบ หรืออาการเจ็บปวด    ก็จะส่งผลสะท้อนไปถึงอวัยวะภายในร่างกายที่เกี่ยวสัมพันธ์    ทำให้เกิดมีอาการเจ็บปวด   หรือปฏิบัติหน้าที่งานบกพร่องตามมา

ปี พ.ศ. 2543 อ. สุทัศน์ กุลสันติพงศ์  ได้เดินทางไปเมืองจูไห่ (ติดกับมาเก๊า) ศึกษาวิธีนวดฝ่าเท้าแบบจีนกับแพทย์จีนอาจารย์จงเชิงเวย    วิธีนวดฝ่าเท้าแบบจีนของ อ. จงเชิงเวย เป็นวิชาชีพเป็นศาสตร์แพทย์จีนหนึ่งที่ถ่ายทอดสืบทอดของตระกูลอาจารย์จงเชิงเวยมาหลายชั่วอายุคน   เป็นวิธีเสริมสร้างสุขภาพและบำบัดโรคที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล   มีสรรพคุณดีเด่นหลายอย่าง

             1.   เน้นการใช้ไม้นวดเป็นหลัก   ช่วยผ่อนแรงได้มาก   และทำให้การนวดสามารถปฏิบัติได้อย่างสม่ำเสมอ

                  2.  เน้นการนวด   ให้หันทิศทางไปทางเดียวกัน นวดหันเข้าสู่ตัวร่างกาย   ผลักดันเลือดลมไปทางปอดหัวใจ   เพื่อผลักดันให้หัวใจสามารถทำงานปั้มเลือดมีพลังมีประสิทธิภาพ

                  3.   การนวดทำแบบมีระบบ    เป็นขั้นเป็นตอน   โดยเฉพาะเน้นให้นวดเขตสะท้อนทั่วทุกเขตของฝ่าเท้า   เป็นการนวดแก้ไขอาการโรคทั่วหน้า   แล้วย้อนกลับมาเน้นนวดกดเขตสะท้อนที่มีอาการผิดปกติ   มีอาการเจ็บปวด   สอดคล้องกับตำราพื้นฐานแพทย์แผนจีน   เน้นให้บำบัดอาการทั่วหน้าควบคู่กับเน้นขจัดแก้ไขอาการโรคเฉพาะไปพร้อมกัน

                 4.  วิธีนวดนี้วันหนึ่งสามารถนวดได้ 2-3 ครั้งแล้วแต่สุขภาพและความจำเป็น

 

จากคู่มือการอบรมการนวดเท้าเพื่อสุขภาพ แพทย์หญิง เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ

 

บทบาทหน้าที่ของเขตสะท้อนทางสรีระวิทยา   และประโยชน์ได้รับจากการนวดฝ่าเท้า    

                   เวลาเรานวดกดถูกเขตสะท้อนที่มีอาการผิดปกติเจ็บปวดหรือผิดรูปทรง  ในเวลาเดียวกันเซลล์ประสาทซึ่งกระจายหล่อเลี้ยงอยู่บริเวณรอบข้างดังกล่าว   ก็ได้ถูกนวดถูกกระตุ้นและเกิดการตอบรับสนองทันทีเซลล์ประสาทรับความรู้สึก 1 เซลล์จะก่อเกิดเป็นศักย์ไฟฟ้า (ACTION   POTENTIAL) และกลายเป็นกระแสประสาทแพร่ไปตามเยื่อเซลล์รอบข้าง  ผลักดันให้เลือดไหลเวียนมาหล่อเลี้ยงมากขึ้น  และผลักดันให้เม็ดเลือดขาวทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้นในการเคลื่อนตัวกำจัดสิ่งแปลกปลอมของเสียสารพิษและเชื้อโรค  ผนังหลอดเลือดเดิมมีของเสียสารพิษเกาะติดจนทำให้เลือดลมไหลเวียนติดขัดหรือกระทั่งอุดตัน  ก็จะถูกขจัดแก้ไขทำให้ผนังหลอดเลือดขยายกว้างขึ้น  ทำให้เลือดสามารถไหลเวียนผ่านได้อย่างราบรื่น  อาการเจ็บปวดหรือรูปทรงที่ผิดปกติของเขตสะท้อนจะถูกขจัดแก้ไขและปรับเข้าสู่รูปทรงปกติ   ทันทีทันใดเซลล์ประสาทอีก 1 เซลล์จะส่งกระแสสัญญาณโดยผ่านกระแสประสาทไปถึงระบบประสาทกลาง    ระบบประสาทกลางจะตอบรับทันที่โดยส่งสัญญาณคำสั่งผ่านกระแสประสาทตรงไปที่เซลล์ประสาทซึ่งกระจายหล่อเลี้ยงอยู่รอบข้างของอวัยวะที่เกี่ยวพันกับเขตสะท้อน    ปรับเลือดลมที่หมุนเวียนหล่อเลี้ยงอวัยวะดังกล่าว   ไหลเวียนมีประสิทธิภาพมากขึ้นและปรับการทำงานของอวัยวะทำงานเข้าสู่ปกติและมีประสิทธิภาพ


ขั้นตอนการนวดฝ่าเท้า   (เลขที่ในวงเล็บคือเขตสะท้อน)

                   -    นวดลำดับแรก    การนวดให้เริ่มต้นที่ขาซ้าย   ใช้ไม้นวดกดนวดที่เขตศูนย์รวมประสาท(20)และนวดลากถูผ่านเขตสะท้อนต่อมหมวกไต (21)  ไต (22)   ท่อไต (23)   ตลอดถึงเขตสะท้อนกระเพาะปัสสาวะ (24)  (นวด 10 ครั้ง)

                    -   นวดลำดับ 2    นวดเขตสะท้อนกระเพาะอาหาร  (15)  ลำไส้เล็กส่วนต้น (16)  ตับอ่อน (17) (นวด 10 ครั้ง)

                -   นวดลำดับ 3    นวดเขตสะท้อนหัวใจ (33)  ม้าม (34) (นวด 10 ครั้ง)

                -   นวดลำดับ 4   นวดบริเวณอุ้งเท้าที่ตั้งของเขตสะท้อนลำไส้เล็กส่วนกลางและปลาย (25)  ไส้ติ่ง (26)  ลิ้นปิดเปิดระหว่างลำไส้เล็กตอนปลายกับลำไส้ใหญ่ตอนต้น (27)   ลำไส้ใหญ่ขาขึ้น  (28)  ลำไส้ใหญ่ส่วนขวาง  (29)   โดยแบ่งนวดเป็น  3  จังหวะ  จังหวะแรก   ให้ใช้ไม้นวดกดนวดที่กึ่งกลางของลำไส้ใหญ่ส่วนขวาง  (29)  แล้วนวดลากถูลงชิดเขตของส้นเท้า   จังหวะที่ 2  นวดกดจุดที่ข้างด้านในอุ้งเท้า  ซึ่งเป็นบริเวณปากของลำไส้ใหญ่ส่วนขวาง (29)  แล้วนวดลากถูลงชิดเขตของส้นเท้า   จังหวะที่  3  นวดกดจุดที่ขาข้างด้านนอกของอุ้งเท้า   ซึ่งเป็นบริเวณปลายของลำไส้ใหญ่ส่วนขวาง (29)  เชื่อมกับลำไส้ใหญ่ขาขึ้น (28)  แล้วนวดลากถูลงผ่านลำไส้ใหญ่ขาขึ้น  (28)  ตลอดไปถึงเขตของส้นเท้า  (นวด 10 ครั้ง)

                   -   นวดลำดับ  5   นวดบริเวณส้นเท้าซึ่งเป็นบริเวณที่ตั้งของเขตสะท้อนอัณฑะ/รังไข่  (36) (นวด 10 ครั้ง)

                   -   นวดลำดับ  6  กลับขึ้นไปบริเวณปลายเท้าให้เริ่มนวดเขตสะท้อนของต่อมธัยรอยด์  (12)  ใช้ไม้นวดกดลากถูตามบริเวณส่วนโค้งของเขตสะท้อนนี้ (นวด 10 ครั้ง)

                   -   นวดลำดับ  7  นวดบริเวณใต้ทุกนิ้วเท้าทั้ง 5 นิ้วในพื้นที่บริเวณของปลายเท้า  (นวด 10 ครั้ง)

                   -   นวดลำดับ  8  นวดบริเวณพื้นที่ของทุกนิ้วเท้าโดยให้เริ่มใช้ไม้นวดกดจุดเขตสะท้อนของโพรงอากาศกระดูกหน้าผาก  (2)  ของหัวแม่เท้าสักพัก (ระยะเวลาสั้นๆ)แล้วนวดลากถูลงมาก   จากนั้นให้ใช้ไม้นวดรูดบริเวณ 2 ข้างนิ้ว   ทั้งด้านในและด้านนอกของหัวแม่เท้า   จากนั้นใช้วิธีเดียวกันนวดบริเวณนิ้วเท้าอีก 4 นิ้ว  (นวด 10 ครั้ง)

               -   นวดลำดับ  9  นวดกรูดที่ข้างเท้าด้านในเขตต่อมพาราธัยรอยด์ (13)  ไปจนถึงเขตสะท้อนกระดูกก้นกบด้านข้าง (นวด 10 ครั้ง)

                   -   นวดลำดับ 10  นวดกรูดข้างเท้าด้านนอกตั้งแต่ปลายนิ้วก้อยไปจนถึงส้นเท้า  (ตั้งแต่เขตสะท้อนของไหล่  ศอก  เข่า  ไปจนถึงเขตสะท้อนกระดูกก้นกบด้านนอก) (นวด 10 ครั้ง)

                   -   นวดลำดับ  11  นวดทุกพื้นที่ของบริเวณหลังเท้าโดยจับไม้นวดวางนอน  แล้วนวดถูตั้งแต่ทุกปลายนิ้วเท้า   นวดลง (หันสู่ร่างกาย)  ทุกพื้นที่ของหลังเท้า (นวด 10 ครั้ง)

                   -   นวดลำดับ  12  การนวดกระตุ้นกระบังลม     ใช้ไม้นวดคาดบนหลังเท้าในลักษณะเป็นแนวขวาง   กดนวดบริเวณกึ่งกลางหลังเท้า  (ซึ่งเป็นเขตสะท้อนของกระบังลม)   จากเท้าด้านในจรดไปถึงเท้าด้านนอก (นวด 10 ครั้ง)

 การนวดหน้าแข้งและน่อง   2  ข้างเท้า

                   1.   ใช้หัวแม่มือทั้งสองข้างกดบริเวณข้อพับที่กึ่งกลางหลังเท้า  รูดขึ้นไปตามร่องกระดูกหน้าแข้งจนถึงข้อเข่า  (นวด 5 ครั้ง)

                   2.   ใช้หัวแม่มือกดรูดจากกึ่งกลางตาตุ่มด้านใน  ไปตามขอบกระดูกหน้าแข้งด้านในจึงถึงข้อเข่า   (นวด 5 ครั้ง)

                       3.       ใช้หัวแม่มือกดที่ร่องระหว่างตาตุ่มด้านในกับเอ็นร้อยหวาย   รูดขึ้นขนานไปกับเส้นที่  จนถึงข้อพับข้างเข่า  (นวด 5 ครั้ง )

                    4.       ใช้นิ้วกลางและนิ้วนาง   กดรูดบริเวณร่องระหว่างตาตุ่มด้านนอกและเอ็นร้อยหวายรูดไปตามร่องกระดูกหน้าแข้งด้านนอก   จนถึงข้อพับข้างเข่า  (นวด 5 ครั้ง )

                    5.       ใช้ปลายนิ้วกลางและนิ้วนางทั้ง 2 มือ  กดรูดบริเวณเอ็นร้อยหวาย    รูดขึ้นไปกลางน่องตลอดจนถึงข้อพับ (นวด 5 ครั้ง )

   

สอบถามข้อมูลดูแลสุขภาพได้

  ศูนย์เสริมสุขภาพเซิ่งกู่

email:.zhenguhealth@gmail.com

 


ความคิดเห็น